ปฐมชาติปรารถนาพุทธภูมิ 2
Video Player is loading.
http://www.dmc.tv
ประเภทของพระพุทธเจ้า
ในพระไตรปิฎกจะแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้ การแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสร้างบารมี[1]
1. ปัญญาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 20 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก 4 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
2. ศรัทธาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 40 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก 8 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
3. วิริยะธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ความเพียรเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 80 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก 16 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
ความหมายของคำว่าพุทธะ
ในพระพุทธศาสนา พุทธะ (ภาษาบาลี พุทฺธ แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน") หมายถึงบุคคลผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 แล้วอย่างถ่องแท้ ในชั้นอรรถกถา จำแนกพุทธะออกเป็น 3 จำพวกด้วยกันได้แก่
1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีเรียกเพียง "พระพุทธเจ้า" คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ (พระโคตมพุทธเจ้า) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
2. พระปัจเจกพุทธะ,อีกอันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า(อ่านว่า พระ-ปัด-เจก-กะ-พุด-ทะ-เจ้า) คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่มิได้สอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
3. อนุพุทธะ คือบุคคลที่ตรัสรู้เนื่องด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ผู้ที่ตรัสรู้ด้วยด้วยเหตุนี้เรียกว่า พระสาวก
ในอรรถกถาบางแห่งจำแนกเป็น 4 ดังนี้
1. พระสัพพัญญูพุทธะ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
2. ปัจเจกพุทธะ
3. จตุสัจจพุทธะ (สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล)
4. สุตพุทธะ (ผู้เป็นพหูสูตร)
ประเภทของพระพุทธเจ้า
ในพระไตรปิฎกจะแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้ การแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสร้างบารมี[1]
1. ปัญญาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 20 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก 4 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
2. ศรัทธาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 40 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก 8 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
3. วิริยะธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ความเพียรเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี 80 อสงไขยกับอีก 100,000 มหากัปป์ นับเวลาตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ครั้งแรก 16 อสงไขยกัป กับอีก 100,000 มหากัปป์
ความหมายของคำว่าพุทธะ
ในพระพุทธศาสนา พุทธะ (ภาษาบาลี พุทฺธ แปลว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน") หมายถึงบุคคลผู้ตรัสรู้อริยสัจ 4 แล้วอย่างถ่องแท้ ในชั้นอรรถกถา จำแนกพุทธะออกเป็น 3 จำพวกด้วยกันได้แก่
1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีเรียกเพียง "พระพุทธเจ้า" คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ (พระโคตมพุทธเจ้า) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
2. พระปัจเจกพุทธะ,อีกอันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า(อ่านว่า พระ-ปัด-เจก-กะ-พุด-ทะ-เจ้า) คือบุคคลที่ตรัสรู้ด้วยตนเอง แต่มิได้สอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
3. อนุพุทธะ คือบุคคลที่ตรัสรู้เนื่องด้วยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ผู้ที่ตรัสรู้ด้วยด้วยเหตุนี้เรียกว่า พระสาวก
ในอรรถกถาบางแห่งจำแนกเป็น 4 ดังนี้
1. พระสัพพัญญูพุทธะ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
2. ปัจเจกพุทธะ
3. จตุสัจจพุทธะ (สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล)
4. สุตพุทธะ (ผู้เป็นพหูสูตร)
- Category
- Phim hoạt hình Phật Giáo